หนังสื่อพิมพ์รายปักษ์.อปท.นิวส์: ท้องถิ่นมั่งคั่ง ประเทศมั่นคง. วิถีพุทธ/วิถีธรรม.บทความ..เกี่ยวกับพระพทธศาสนาในสาธารณรัฐ อุซเบกีสถาน

   

ตามรอยอุซเบกิสถาน: เส้นทางพระพุทธศาสนา  01-15 พ.ค.18

                                       ดร.พันธ์ศักดิ์ บุญโศภณพงศ์

อุซเบกิสถาน...เป็นประเทศแห่งอารยธรรมโบราณหรือแหล่ง ต้นกำเนิดอันตรกิริยาทางวัฒนธรรมและชนชาติบนทาง-ผ่านทวีปเอเชีย เชื่อมตะวันตกสู่ตะวันออก-เส้นทางสายไหม (Silk Road) โยงพ่อค่าวาณิช-ศาสนาวัฒนธรรม-เป็นหนึ่งบนทางเส้นนี้ ต้นกำเนิด-มิลินท์ปัญหาวรรณกรรมพุทธปรัชญาและพระเจ้าอโศกสอง  (พระเจ้ากนิษกะ) ที่ทรงคุณค่าสืบสานมา มากกว่า 2,000 ปี และเป็น “มรดกทางอารยะธรรมของมนุษยชาติ” (Legitimacy of the  human race)

- ภูมิประเทศประเทศตั้งอยู่ศูนย์กลางระหว่าง-คีร์กิซ-ทาจิกิ-เตร์กเมนิ-คาซัค –อัฟกานิ-ทุกประเทศทั้งห้าลงท้ายด้วย-สถาน-ฯต่างเป็นศูนย์รวมและร่วมบนเส้นทางสายไหม..  

-อุซเบฯ ได้รับอิสรภาพจากสหภาพโซเวียตฯ ปี ค.ศ.1991  ก็สถาปนาความสำพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย  เมือวันที่ 26 ธันวาคม ปีเดียวกัน และเปิดเส้นทางคมนาคม ด้วยสายการบินประจำชาติ “อุซเบกิสถาน  แอร์เวย์”  บินตรงจากสนามบินสุวรรณภูมิ กทม. สู่ ทาซเค้นท์ เมืองหลวงฯ สัปดาห์ละหลายเที่ยว มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและนักธุรกิจเป็นจำนวนมาก เดินทาง โดยคาดหวังว่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

-อารยธรรมยุคก่อน  Bc100-สองพระมหากษัตริย์ฯ -พระเจ้ามิลินท์และ-พระเจ้ากนิษกะ(อโศกสอง) ทั้งสองพระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธหลังพระเจ้าอโศกอินเดียสิ้นพระชน ได้สร้างวัดวา อารามสถูปมหาเจดีย์ ทำสังคายนาครั้งที่ ๔ สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทั่วเอเชียกลาง

   พระเจ้ามิลินท์-กษัตริย์ เชื่อสายกริกผู้มีวาทะปัญญาสร้างมรดกวรรณกรรมพุทธปรัชญาที่ ปราชญ์ทั่วโลกนำมาพิมพ์เผยแผ่เกือบทุกภาษาและสร้างเหรียญระลึกอีกด้านเป็นสัญลักษณ์ธรรมิสกะ อีกด้านฯเริมต้น แกะสลักพุทธศิลป์ คันธาระ ซึ่งเริมต้นในสมั

ของพระองค์- ผู้ตั้งอยู่ในธรรมจวบจนเท่าทุกวันนี้

-พระเจ้ากนิษกะมหาราช   (อโศก๒)แห่งราชวงศ์ กุษาณะ  ราว พ.ศ.๕๐๐-๑๓๐๐ ได้แผ่อำนาจบ้านเมืองไปทั่วบริเวณ แถบนี้  สนใจเรื่องศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ฯ ให้เป็นศาสนาประจำแคว้น กุษณะ .. วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี   ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ การทำสังคายนามี ท่าน ปารศวะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ หลังจากทำสังคายนาเสร็จ  ก็ได้สร้างมหาเจดีย์ใหญ่สูง ๕๕๐ฟุต ไว้เพื่อบรรจุพระไตรปิฎกที่จดจารึกด้วยภาษาสันสกฤต  จำนวน๓  แสนโศลกและเมื่อครั้งที่  พระถั่งซำจัง เดินทางมาสู่ประเทศอินเดีย ประมาณ พ.ศ.๑๑๙๙ โดยใช้เส้นทางนี้ ได้ 

กราบนมัสการมหาเจดีย์ใหญ่ด้วย ฯนอกจากนั้น แล้ว ยังได้เกิดนักปราชญ์ทางพุทธศาสนา   ณ เมืองนี้ เช่น พระอสังคะ พระวสุพันธ์ และท่านพระอารยเทพ เป็นต้น

  ปัจจุบัน: รัฐบาลได้ประชาสัมพันธ์ให้ชาวโลกรับรู้ว่า พระพุทธศาสนา เป็นสมบัติชองชาติ (Buddhist heritage of Uzbekistan: 28 February 2012 the fine Art gallery )ในงานแสดงศิลปะที่เมืองหลวง ทาซเคนท์   และอีกครั้ง:มหาวิทยาลัยแห่งชาติของ เทอร์เมซ ประจำจังหวัดสุคันดายา ประกาศให้นักศึกษารับรู้ “ พุทธศาสนา-เป็นมรดก ของเมืองเทอร์เมซ The Buddhist Legacy of Termez .”

เทอร์เมซ: “The Buddhist Legacy of Termez  -พระพุทธศาสนาเป็นมรดกของเมือง เทอร์เมซ “ เป็นคำขวัญของเมือง-อยู่ตอนใต้ในที่ราบลุ่มหุบเขาหิมะและแม่น้ำ อมูดายา(Amudarja River) หรือที่ปรากฏชื่อในประวัติศาสตร์ศาสนาว่า เป็นศูนย์กลางอาณาจักร กุษานะ,มีกำแพงเมืองเห็นเด่นชัด โดยเฉพาะ ที่ขุดค้นทั้งสองแห่งสำคัญสัญลักษณ์ แห่งเมืองโบราณ ๒,๐๐๐ ปี –วัด โบสถ์ วิหารKARA TEPA- FAYAZ TEPA-Zurmala Stupa. 

    ที่ตั้งเมือง:อยู่ทางตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน. เป็นเมืองสงบสะอาดผู้คนมีมนุษย์สัมพันธ์อัธยาศัยยิ้มแย้มต้อนรับแขกผู้มาเยือนเสมอเหมือน ญาติ ถนนหนทางสะอาดมากๆการคมนาคมเดินทางทั้งรถและทาอากาศเขตติดต่อทางรถ ครีกีร์-ทาจี-อัฟกา –เติกเมนิสถาน ส่วนมากพื้นที่เป็นทุ่งทะเลทราย-เนินหุบเขาอาณาบริเวณมองสุดแสนสบายอารมณ์ ส่วนมากเพาะปลูกต้นหม่อน เลี้ยงไหม ข้าวสาลี อากาศ เย็นสบายตลอดปี นอกจาก-มค-กพ-มีค จะเย็นสุด บางปีมีหิมะ เบาๆตก ฯ  (ต่ออีกxxxxx

                      

ตอนที่ ๒

                              ต่อจากตอน ๑)ตอน.. ๒. พ.ค.15-30-2018

                              *ตามรอยพระถังซำจั๋ง- อุซเบกิสถาน / 15-30.พ.ค.18

                                “บันทึกแห่งโลกตะวันตกประวัติศาสตร์ที่สำคัญ “

   (ค.ศ. 602) พระ ถังซัมจั๋ง เดินทางในดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แคว้น -110 แคว้นเดินทางด้วยตนเอง และบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น

     -พระถังซัมจั๋ง เป็นชาวมณฑลเหอหนาน เมื่อเยาว์วัยได้ บรรพชาเป็นสามเณรอายุ 13 ปี มีความสามารถในการแสดงธรรมฯ ในรัฐสมัยราชวงศ์ถัง ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย ได้ออกเดินทางเมื่อปี พ.ศ. 1172 ศึกษาพระธรรมฯ ที่มหาวิทยาลัยนาลันทาฯ รวมระยะเวลาไป-กลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ 

-เดินทางกลับจีนพร้อมนำพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤตกลับมาด้วย ท่านเดินทางถึงเมืองหลวงของจีนคือ เมืองฉางอาน ในปี พ.ศ. 1191 ในสมัย พระเจ้าถังไท่จง พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงทรงอุปถัมภ์การแปลพระไตรปิฎก จากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน 

    “อยากทำและได้ทำในสิ่งที่ปรารถนาอยากจะทำ” มีผู้คนเขาหยิบยกให้ทำ จึงทำด้วยความเต็มใจทั้งสติและปัญญามิได้มีการเรียกร้องค่าจ้าง-รางวัลนั้นคือความสุขใจที่ได้รับจากกระทำ.. สืบสานสายสัมพันธ์ เส้นทางพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง โดยเฉพาะ สาธารณะรัฐ อุซเบกิสถาน ประเทศที่เป็นศูนย์รวมแห่งศาสนา เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแห่งปัญญาเช่นวรรณกรรมพุทธปรัชญา มิลินท์ปัญหา เชิงเสวนาถามตอบกับภิกษุ นาคเสน แดนดินถิ่นกำเนิดเกิดขึ้น มหาพุทธมามะกะ พระเจ้า มิลินท์ กษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม

    “บันทึกแห่งโลกตะวันตก”รายแทงขุมทรัพย์ที่พระถังซำจั๋งให้ไว้ ๖๐๐ ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน ปี ค.ศ.1900 ทำไห้นักล่ามหาสมบัติตามท้องทะเลทรายเกิดมีขึ้น-มีขุมทรัพย์ ถ้าไม่เจอขุมทรัพย์ ก็แสดงว่าไม่มีขุมทรัพย์ เมือเจอแล้วมนุษย์ชาติในปัจจุบันได้มีการสื่อสารเรียนรู้ จำเป็นต้องช่วยกันทำนุ-บำรุ่งเสริมสร้างมรดกที่ค้นพบ ให้ตกทอดเป็นสมบัติของมนุษย์ชาติอีกต่อไป สู่อีกยุค เป็นแน่แท้

อาณาจักรบักเทียร์(Bactria)พระเจ้ามิลินท์เป็นอาณาจักรแห่งวรรณกรรมพุทธปรัชญาได้มีการสืบทอดเป็นมรดกของโลกจวบจนถึงวันนี้.และอาณาจักรกุษาณะ   ของพระเจ้ากนิษกะ เป็นอาณาจักรที่เกิดปฏิมากรให้เกิด ปฎิมากรรม พระพุทธรูปเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาและ เป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งเมตตาธรรมมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลจากเหนือสุดอินเดีย สู่เหนือสุดจีน ครอบคลุมพื้นที่ทะเลทราย โอเอซิซ ภูเขาน้ำแข็งหลายพันลูกรวมทั้งเส้นทางการค้าสำคัญจากอาณาจักรโรมัน -โรม มาจบพบกัน ณ ดินแดนแห่งนี้  

   คือเส้นทางสายไหม: มีหลากหลายเผ่าพันธุ์มนุษย์ชาติศาสนา-วัฒนธรรม จาริต ประเพณีได้มารวมกันเป็นศูนย์กลางการค้า แล้วถูกทำลายล้างจนหมดสิ้นและเลื่อนลางหายไปจากภัยธรรมชาติและมนุษย์ ได้สาบศูนย์( The lost city of Empire) เป็นเวลามากกว่าพันปี

การขุดค้นพบ: เมือ ปี ค.ศ. 1900 ตามบันทึกการเดินทางของพระผู้ไผ่ในธรรม(พระถังซำจั๋ง) พุทธศาสนาสถาน ศูนย์กลางวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ ณ แดนดินถิ่นฐานบรรพบุรุษของมนุษย์ชาติ ที่เมืองเตอร์เมซ (TERMEZ)ตอนใต้ ของอุซเบฯชายแดนติดต่อ อัฟกานิสถาน คุ้งโคงแม่น้ำ อมูดายา ปัจจุบันนี้ เป็นการค้นพบมรดกของมนุษย์ชาติอันใหญ่หลวงที่หายไปให้กลับคืนมาเป็นสมบัติทรงคุณค่าต่อบรรพชนบนโลกใบนี้ ให้สืบสายสานต่อจนสิ้นอสงไขย

     -Fayaz Tepa complex & Zurmala Stupa-Kara Tepa:  คือพุทธสถานสิ่งก่อสร้างเมือก่อนคริสต์ศักราช๑๐๐- ๒๐๐ สมัยพระเจ้ามิลินท์  แคว้น แบ็กเทียร์ (Bactria)- อโศกสอง (พระเจ้ากนิษกะ) พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ กุษาณะ แห่งแคว้น  Kushan Empire  คือ มหาอัครสถานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรื่องในพระพุทธศาสนา มีสิ่งก่อสร้างหลากหลายนานาต่างๆประกอบด้วยวัดวา อาราม ที่พักสงฆ์- ที่เจริญภาวนา-สถูปมหาวิหาร-โรงทานฯ บ่งบอกความมั่นคงการศาสนาและปกครองการค้า วัฒนธรรม  มาหลายพันปีมาแล้ว

                         

ตอน ๓ JUNE:  1- 15

                        “พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง” -สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

   เอเชียกลาง: สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยทะเลทรายและที่ราบทุ่งหญ้า ไม่ค่อยมีป่าต้นไม้สูง มีสภาพภูมิอากาศในฤดูร้อนมากและเย็นยะเยือกในฤดูหนาว  เป็นสถานที่ตั้งของสาธารณรัฐ  อุซเบกิ-คีร์กีซ-ทาจิกิ- เติร์กเมนิ-คาซัค-ที่ลงท้ายด้วยคำว่า-“สถาน.”ทั้ง 5.ประเทศ. นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเขตปกครองตนเองทิเบต เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน บางส่วนของประเทศมองโกเลีย และไซบีเรียตอนใต้ด้วย

   1.พระพุทธศาสนา: เข้าสู่เอเชียกลางในพุทธศตวรรษที่ 2 พระเจ้าอโศกได้ส่ง พระธรรมทูตสายพระมัชฌันติกเถระ และสายพระธรรมรักขิตเถระ  ไปยังเอเชียกลาง ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นอย่างเป็นทางการในบริเวณนี้ .ถือกันว่าเป็นดินแดนชายขอบของพุทธศาสนา เป็นที่รู้จักของชนเผ่าฯ ในสมัยต่อมา เมื่อชาวกรีกจากแคว้นบัคเตรียได้เข้ามายึดครองแคว้นคันธาระรวมถึงแคชเมียร์แทนจักรวรรดิโมริยะ ก็ได้นำพุทธศาสนาฯ ไปยังแคว้นบัคเตรีย  ปลายรัชสมัยของพระเจ้าอโศกตามเส้นทางของสมณะทูตในเอเชียกลาง คือ เมืองกุชา(Kushan Empire) ตอนใต้อุซเบกิสถาน เขตรอยต่อ (อัฟกานิสถาน ) หรือ กุฉิ ในพุทธศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาก็ได้ตั้งมั่นในบนทางสายไหม  เป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง

  2.นักวิชาการพุทธศาสนาเยอรมนี: อเล็กซานเดอร์ เบอร์ซิน:  กล่าวว่า: พุทธศาสนาน่าจะเริ่มเผยแผ่เข้าสู่ภูมิภาคเอเชียกลางตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว โดยมีแคว้นบัคเตรีย (Bactria)  ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบันคือ เตเมซ - อุซเบกิสถาน.เป็นแห่งแรก ผู้นำพุทธศาสนาเข้าสู่ดินแดนนี้ก็คือ: พ่อค้าจากบัคเตรีย.ท่านตปุสสะและภัลลิกะ อุบาสกคู่แรกของพุทธศาสนา ซึ่งได้สร้างสถูปสององค์บรรจุพระเกศาแปดเส้นและพระนขาที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าประทานให้หลังจากที่ได้รับถวายข้าวสัตตุก้อนสัตตุผล โดยที่ในเวลาต่อมาท่านภัลลิกะได้มาขออุปสมบทและกลับมาสร้างวัดที่นี้ด้วย 

  3.บันทึกต่างๆเหล่านี้: ได้รับการกล่าวอ้าง ในพระสูตรลลิตาสิสตระ (Lalitavistara) เขียนเสร็จสิ้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๓. ต่อมาในราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๗. ในบันทึกการเดินทางของ พระถังซัมจั๋ง มีหลักฐานทางโบราณคดีร่วมสมัยมายืนยันชัดเจน ดูจากบริบททางภูมิศาสตร์การเมือง  ก็จะพบว่าแคว้น บัคเตรีย (Bactria)  ตั้งอยู่ไม่ไกลจากแคว้นคันธาระของอินเดียโบราณ .ติดต่อค้าขายกับแคว้นมคธทางตะวันออกของอินเดีย อันเป็นแคว้นที่พระพุทธศาสนาตั้งมั่นเป็นแห่งแรก.  

  4.พระพุทธศาสนาในแถบนี้: เมื่อสิ้น สมัยราชวงศ์กุษาณะ อาณาบนจักรดินแดนเอเชียกลางก็ขาดผู้อุปถัมภ์ค้ำชู พุทธศาสนาฯเกิดการ แย้งชิงอำนาจ-ก็เข้าสู่วังวนแห่งสงครามเผ่าชาติพันธ์ล่มร้างชิงอำนาจระหว่างชนเผ่าต่างๆ ที่เริ่มอพยพมาจากทางตะวันตกของจีนและมองโกเลีย มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น .ชาวอาหรับก็เริ่มขยายอำนาจเข้ามาในบริเวณนี้ ส่งผลให้ภูมิภาคอาณาบริเวณเปลี่ยนผู้นำการปกครองจากกลุ่มเดิมไปสู่อีกกลุ่ม ผู้ปกครองใหม่

#..ศาสนาพุทธมีท่าทีว่าจะฟื้นตัวขึ้นอีก: เมื่อเจงกิสข่านแห่งมองโกลเลีย รุกรานเข้ามาในบริเวณนี้ มีการจัดตั้งดินแดนของอิลข่านและชะกะไตข่าน เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18แต่อีก 100 ปีต่อมา ชาวมองโกลส่วนใหญ่หันไปนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้ศาสนาอิสลามแพร่หลายไปทั่วเอเชียกลาง

#..พุทธศาสนาสถาน: เมือขาดผู้อุปถัมภ์ค้ำชูทำนุบำรุงดูแลรักษาก็เริ่ม ถูกทิ้งร้าง บางแห่งถูกเผาทำลายและ บางที่พังทลายไปตามกาลเวลา เหลือเพียงเนินดินฯที่ ยังคงพอมีเหลืออยู่บ้าง.

ก็เป็นเพียงบันทึกต่างๆ: พระถังซัมจั๋ง ผู้ทรงเสียสละตนเองเพื่อพระพุทธศาสนา เดินทางรวมระยะเวลา 17 ปี เป็นระยะทางทั้งหมดรวมทั้งสิ้น 5 หมื่นลี้ ราว. 25,000 กิโลเมตร จากจีน  ผ่านหลาย ประเทศรวมทั้งประเทศ อุซเบกิสถาน ด้วยม้าและการเดินเท้า-จุดผ่านที่สำคัญตามบันทึกคือ.”ศูนย์กลางเส้นทางสายไหมเขตติดต่อแม่น้ำอมูดายา”ได้มอบผลงานอันมีบุญคุณยิ่งใหญ่ต่อชาวพุทธ สิ่งนั้นคือ  “บันทึกประวัติศาสตร์และธรรม” ในสมัยนั้นบันทึกถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเอาไว้ บางแห่งก็หายสาบสูญไม่เหลือสิ่งใดไว้ให้ตามหาฯ.

  5.และแล้ว: พระพุทธศาสนาในแถบนี้:  เมื่อประมาณปี 2500 และในปี พ.ศ.2504 กรมโบราณคดีรัสเซียได้ค้นพบเมืองโบราณทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง ณ อุซเบกิสถาน ซึ่งกระจายอยู่ตามเมืองต่างๆ ทางภาคใต้ติดกับอัฟกานิสถาน ฯ โดยเฉพาะ เมืองเตเมซ (Termez) ชุมชน วัด สถูปเจดีย์-kara tepa-Fayaz tepe –Zurmala stupa เป็นต้น และค้นพบพระพุทธรูปแกะสลักนั่งใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ มีพระอัครสาวกทั้งสองยืนเคียงข้างพระศาสดา ซึ่งบ่งบอกว่า เป็นนิกายเถรวาท ฯ (ผู้เขียนพร้อมคณะบุกเบิก.เดินทางมาเตเมซ. มีค.๒๕/ ๖๑)

  6. กลุ่มประเทศ cis ทั้ง๕ อันมีสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน: ที่ขุดค้นพบพุทธสถานมากสุดและสถานที่ขุดค้นพบก็เป็นไปตามบันทึกของพระถังซำจั๋งที่ให้ไว้เป็นจุดสำคัญศูนย์กลาง พุทธศาสนาบนดินแดนเส้นทางสายไหมเอเชียกลางนั้นถือเป็นบริบทสำคัญบทหนึ่งในประวัติศาสตร์พุทธศาสตร์ศาสนาอันยาวนานกว่าสองพันห้าร้อยเป็นข้อต่อที่เชื่อมภูมิภาคเอเชียใต้เข้ากับเอเชียกลางเป็นต้นมาและในขณะเดียวกันก็เป็นเบ้าหลอมอารยธรรมของมนุษย์ตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน

#.จนทำให้เกิดเอกลักษณ์ของตนชุมชนวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามของมนุษย์ชาติและสร้างสรรค์ตั้งหลักปักฐานรวบรวมความต่างเป็นหนึ่งเดียว นั้นคือความรักและสันติแห่งการอยู่รวมกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด พุทธศาสนาในภูมิภาคนี้ในอดีตได้ก่อกำเนิดวรรณกรรมพุทธปรัชญาและพุทธศิลป์อันล้ำค่าเป็นมรดกของมนุษย์ชาติสืบสานจนบัดนี้ฯ

  ปัจจุบัน Borderless โลกไร้พรหมแดนพระพุทธศาสนากำลังได้รับความสนใจจากเยาวชนยุคใหม่ยุคแห่งการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงได้รับการสนับสนุนจากรัฐฯ สิ่งที่ศูนย์หายจากภูมิภาคเอเชียกลาง เรื่องราวประวัติศาสตร์และร่องรอยทางโบราณคดีที่หลงเหลืออยู่ ได้รับการร่วมมือฟื้นฟูส่งเสริมพัฒนาให้เป็นสมบัติและมรดกของมนุษย์ชาติสืบสายสานต่อในดินแดนเอเซียกลางแห่ง

                         

ตอนที่ ๔

               ตอน ๔ Uzbekistan : Reintroduction 0f Buddhism (July 1-15-2018)

อุซเบกิสถาน: การฟื้นฟู-บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนาสถาน พระพุทธศาสนา.

  ๑. ศตวรรษที่ 7 ราวพ.ศ. 1183: พระถังซำจั๋ง (พระภิกษุชาวจีนฯที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เกิดญาณที่แก่กล้า ฯ)ได้จด บันทึกจดหมายเหตุการณ์เดินทางผ่าน ที่เป็นเอกสารลายแทงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นหลักฐานสำคัญให้ขุดค้นหาศาสนาสถานฯ มี ชื่อว่า  "จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" ระบุไว้ว่า ณ บริเวณนี้ ปัจจุบันคือ (The Ancient City of Termez  Rep. Uzbekistan)   เป็นคุ้งน้ำ กว้างใหญ่ตามทรายฝั่ง-แม่น้ำ-อมูดายา  (Amu Darya River)  ณ บริเวณ แห่งนี้ มองเห็นเด่นชัด-บันทึกว่า    “มีวัดเป็นร้อย- มีพระเป็นพัน.” 

  ๒.Tashkent, Uzbekistan:กรุง ทาซเคนท์ เมืองหลวง อุซบิสถาน.ได้มีการแสดงนิทัศน์กาลเกี่ยวกับ “พุทธศาสนาสถานทางตอนใต้ของประเทศ” ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม-30 ตุลาคม 2006.ที่ Tashkent gallery of fine art under the national Bank of Uzbekistan. เนืองในโอกาส เยือน ของนายก รัฐมนตรี ญี่ปุ่น ฯ การแสดงนิทัศน์กาล-บ่งบอกชี้ชัดว่า ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใน อาณาบริเวณนี้ มีมา ในยุคอาณาจักร บักเทรียน (Bactrian) (พระเจ้ามิลินทร์)1st century B.C. ก่อน  และอาณาจักรกุษาณะ (Kushan Empire) ( พระเจ้า กนิษกะ (Kanishka) สิ่งที่ค้นพบสำคัญคือเหรียญระลึก “ coins of Greco-Bactrian tsar Agathokles (about 185-170 B.C.), whose authority was extended also to northern Bactria.-ของพระเจ้า มิลินท์ฯ

  ๓.TERMEZ: เตเมซ: เป็นอำเภอหนึ่งในเขตปกครองของจังหวัด ฯสุคันดาย่า (Surkhadarya) ภาคใต้ของประเทศอุซเบฯเป็น เขตรอยต่อประเทศอัฟกานิสถานที่เป็น (No man land Area) ส่วนหนึ่ง- ปัจจุบันคือเมืองเก่าเตเมซฯ (Old Termez) คือสัญลักษณ์-เอกลักษณ์หนึ่งเดียวในเอเชียกลางฯ มีพุทธศาสนาสถานที่สำคัญต่างๆปรากฏให้เห็นและขุดค้นพบในทางโบราณคดีสมัยพระเจ้า มิลินท์ (อาณาจักร บักเทรีย.(Bactria) และพระเจ้า อโศกสอง(กนิษกะ) และอาณาจักรกุษาณะ ( Kushan Empire) คือโยนกประเทศ ฯหลังทุติยสังคายนาพระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูตสายที่ ๖ มีพระมหาธัมมรักขิตเถระเป็นหัวหน้า คณะเผยแผ่-ก่อนคริสต์ศักราชฯ 

  ๔.เมืองเก่าเตเมซ: (Old Termez) เป็นที่ตั้ง. “Kara tepa-FAYAZ TEPA -Zurmala stupa” ศาสนาสถานที่ปรากฏและขุดค้นพบ -กำลังขุดค้น และยังไม่ได้ขุดค้นเหลืออยู่เป็นจำนวนมากฯสถูปเจดีย์ ที่ปรากฏ (Zurmala Stupa -Hight.16. M)   คือสัญลักษณ์แสดงความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา  สร้างก่อนคริศตร์ศักราชฯสมัยพระเจ้าอโศกสอง (พระเจ้ากนิษกะ) พระมหากษัตริย์ผู้เป็นเอกองค์ อัคร ศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาภายใต้อาณาจักรของพระองค์ฯ #.FAYAZ TEPA เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ (ค.ศ.2002) ได้รับการสนับสนุนการเงิน ๗๐๐, ๐๐๐US.ฟื้นฟู บูรณ ปฏิสังขรณ์ เป็นเบื้องต้น จากรัฐบาลญี่ปุ่นฯและยังคอยการสนับสนุนจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกฯ

   ๕.ผู้เขียน มีโอกาสเดินทางเปิดการบุกเบิกเปิดศักราชพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง โดยเฉพาะ ประเทศ อุซเบกิสถานเมือวันที่ ๒๔-๒๘เดือน มีค.๖๑ มี  Gotogether  Travel. เป็นเจ้าภาพแม่งานเดินทางร่วม ๔ ชีวิต เพื่อหาคำตอบโยนกประเทศที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระธรรมทูต สายที่ ๖ มี พระมหาธัมมรักขิตเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่ฯ-แคว้นโยนกบ้านเกิดของท่านฯเป็นเขตแดนปกครองของแค้วน บักเทรีย(Bactria)-พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ฯ ปัจจุบันคือประเทศอุซเบกิสถานฯ 

-สายการบินแห่งชาติ “Uzbekistan Airways “ บินตรง กรุงเทพ-ทาซเคนท์  ใช้เวลาบิน 6ชม. กว่า หน่อยๆถึงเมืองหลวง.สวยงามสะอาดเป็นระเบียบสวนสาธารณะเขียวชอุ่มดอกบานสะพลั่งสดใสแบบฉบับสังคมนิยม ดั่งเดิม ที่เป็นเมืองหลวงสหภาพโซเวียตมาก่อนฯวันที่ 2.ทาซเคนท์-เตเมซ Tashkent –Termez-ใช้เวลาบิน หนึ่งชั่วโมงครึ่งถึง.เตเมซ อยู่ทางตอนใต้-เขตติดต่อประเทศอัฟกานิสถานฯ มีสถานที่สำคัญอันเป็นสัญลักษณ์ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาก่อนคริสตร์ศักราชฯ 

-เข้าสักการะ-บูชา Karatepa-Fayaztepa-Zurmalastupa ที่ยังเห็นเป็นรูปนามอยู่ และมีการบูรณปฏิสังขรณ์บ้างเช่น Fayaztepa กำลังขุดค้นKaratepa อยู่ในแดน “No Man Land “ อัฟกาและอุซเบฯ ส่วน Zurmalastupaยังไม่มีการปฏิสังขรณ์ไดๆสูง16เมตร ยืนเด่นเป็นสง่ามาแล้ว2,000 ปี สถานที่ทั้งสามแห่งนี้ สมควรที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรได้มีโอกาสกราบไหว้สักการะบูชา ก่อนชีวิตจะหาไม่  เพราะเป็นพุทธศาสนาสถานที่ศักดิ์สิทธิ์บรรพบุรุษและพระมหากษัตริย์ผู้ทรงศีลและปัญญาสร้างไว้

-พ.ค.30-05-2561. กลับไปอีกครั้งโดยสายการบินแห่งชาติUzbekistan Airways. สนับสนุนการเดินทางบางส่วนฯ คณะและผู้เขียนฯมี พระครูถาวรกิจจารักษ์  เนตรสูงเนิน ดร.(พุทธศาตรมหาบัณฑิต)เจ้าคณะอำเภอสูงเนิน วัดใหญ่สูงเนิน สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมาฯ๒.พระครูวินัยธร ดร.๓.พระครูโสภณรัตตปัญญา เป็นคณะปฐมเบิกทางพุทธศาสนาเชื่อมสัมพันธ์สืบสานเอเซียใต้ กับ เอเชียกลาง ประชุมปรึกษาหารือที่ พิพิธภัณฑ์กับเจ้าหน้าระดับสูงท้องถิ่น ผู้อำนวยการพิพิธภัณ์สถานแห่งชาติ และMr. Tuhtash Annaev. ผู้อำนวยการสถาบัน โบราณคดี  มหาลัย  Termez State University 

บ่ายวันเดียวกัน(01-6-2561)เข้าไปในเขตติดต่อทั้งสองประเทศฯศาสนาสถานคือ: Karatepa.  เจริญพระพุทธมนต์มงคลคาถา พุทธคุณ ฯกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลให้บรรพบุรุษและพระมหากษัตริย์ทั้งสองคือ.พระเจ้ามิลินท์๒.พระเจ้ากนิษกะ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาได้สร้างวัด วา อาราม เป็นอนุสรณ์สถาน

  วันที่ 2-6-2561 เวลา.08.00น.เยี่ยมชมและสักการบูชา Fayaz tepa ผู้เขียน.ให้นาม ว่า “กนิษกะมหาวิหาร”ทำวัตสวดมนต์เช้าภายนอกสถูป เดินประทักษิณสามรอบพร้อม สวดมนต์พุทธคุณ..เจริญภาวนาฯ 

-เข้าไปภายในใต้สถูปที่สร้างครอบไว้ฯ ภายในเป็นสถูปที่สร้างมาก่อนคริสตร์กาลบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จุดธูปเทียนถวายพานธูปเทียนแพ สวด-“ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ธัมมจักกัปปวัตนสูตร   เนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลาง  ซึงเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนาฯ

10.00น. (วันเดียวกัน) สักการะ Zurmala stupa.ผู้เขียนให้นามว่า “ ซูมาลามหาเจดีย์”  สวดมนต์ พุทธคุณอันเป็นมงคลต่อแผ่นดินฯ เป็นเวลาพอสมควร เนืองจากการเข้า –ออกสถานยังไม่สะดวก รอบๆบริเวณสถูปมีต้นหญ้าเล็กๆหนามคมรกเต็มพื้นทีเดินรอบประทักษิณ ยังไม่ดีพร้อมพอ...

   สรุป:การบุกเบิกเปิดเส้นทางแสวงบุญชาวพุทธฯในเอเชียกลางที่เคยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา ก่อนคริสต์ศักราชฯ ก็เพื่อสืบสานฟื้นฟู-บูรณะ-ปฏิสังขรณ์พุทธศาสนาสถานที่เคยเจริญรุ่งเรืองให้กลับฟื้นคืนมา เป็นทั้งสมบัติและมรดกของมนุษย์ชาติตามนโยบายของประเทศอุซเบกิสถาน.. ที่จะเป็นศู

 

 

 

 
Visitors: 5,792