ธรรมยาตรา... ฟื้นฟูพระพุทธศาสนา เอเชียกลาง


Buddhism's core Cultural legacy of the humankind in the Global

หลักพระพุทธศาสนา มรดกทางวัฒนธรรมมวลมนุษยชาติ

วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคมและเกี่ยวข้องกับเอกลักษณ์ของชาติ

วัฒนธรรมค่อยๆผลิดอกออกผลภายในสังคม โดยที่ปัจจัยทางธรรมชาติ
และภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น
 สามารถก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้
 ศาสนามิใช่มรดกทางสังคม ศาสนามิใช่ผลงานที่มนุษย์รังสรรค์ขึ้น
 หากจะกล่าวตามประสานักเทวนิยมก็ก็กล่าวได้ว่า
 "ศาสนาเป็นสถาบันที่พระเจ้าสถาปนาขึ้น" หากมองในมุมนี้ เราจะพบว่า
ศาสนามิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมในแง่ จุดเริมต้นกำเนิด แต่สามารถดำรงอยู่เป็นไปคืออย่างเชื่อมโยงสอดคล้องยอมรับสัมพันธ์กลมกลืน ตามภูมิประเทศแต่ละท้องถิ่นและธรรมชาติ
 ศาสนาสอนเกี่ยวกับหลักความเชื่อและศีลธรรมจรรยา ก็มิอาจปฏิเสธได้ว่าสิ่งดังกล่าว ถือเป็นแก่นของวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน และหากจรรยามารยาทและจารีตต่างๆคือองค์ประกอบหลักของวัฒนธรรม อย่าลืมว่า
 ชะรีอัต (บทบัญญัติ) ของศาสนาก็พูดถึงเรื่องดังกล่าวเช่นกัน
 วัฒนธรรมจารีตบางประเภทสามารถเป็นที่ยอมรับของศาสนาได้หากได้รับการสังคายนาแก้ไขบ้างเสียก่อน และวัฒนธรรมจารีตบางประเภทก็เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาคำสอนของศาสนาโดยตรง
 ศาสนาแต่ละศาสนาจะกำเนิดขึ้นเมื่อโครงสร้างของระบอบศาสนาที่มีอยู่เดิมได้เสื่อมลงหรืออาจเกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมขึ้นในสังคม
 เมื่อศาสนาหนึ่งเริ่มแผ่ขยายขึ้นก็มักจะปฏิวัติโค่นล้มหรือไม่ก็ปฏิรูปโครงสร้างค่านิยมเดิมในสังคม ส่งผลให้วัฒนธรรมของสังคมดังกล่าวสั่นสะเทือนรุนแรงและหาทางกำจัดเนื้อหาของตนบางประการ และยอมรับเนื้อหาอันสอดคล้องกับคุณค่าชุดใหม่ของศาสนา

Religion : ศาสนา 

๑. พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทรุ่งเรือง พ.ศ. ๑ ถึง ๕๐๐

๒. พุทธศาสนาฝ่ายมหายานรุ่งเรือง พ.ศ. ๕๐๐ ถึง ๑๐๐๐

๓. พุทธศาสนาแบบตันตระรุ่งเรือง พ.ศ. ๑๐๐๐ ถึง ๑๕๐

ยุคที่ ๓ พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแยกตัวออกไป
และเจริญรุ่งเรือง
(จักรวรรดิพุทธที่ ๒ ของพระเจ้ากนิษกะมหาราช
แห่งราชวงศ์กุษาณ ประมาณ พ.ศ. ๕๐๐ ถึง ๗๐๐)
พ.ศ. ๕๑๓

กษัตริย์ราชวงศ์กุษาณ รบชนะกษัตริย์กรีกและกษัตริย์ราชวงศ์ศกะ เข้าครองอํานาจในอินเดียภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ทรงเลื่อมใสศรัทธาและทํานุบํารุงพระพุทธศาสนา (ชนเผ่ากุษาณเป็นชาติพันธุ์มองโกล เดิมอยู่ในอาเซียกลาง ถูกพวกฮั่นรุกราน จึงอพยพมาเข้าครอบครองดินแดนแถบนี้และแผ่อํานาจออกจนเป็นมหาอาณาจักร มีอาณาเขตเทียบปัจจุบันคือ บางส่วนของเปอร์เซีย โขตานในอาเซียกลาง อาฟกานิสถาน ปากีสถานตะวันตกเกือบทั้งหมด แคว้นกัษมีระ หรือแคชเมียร์ แคว้นปัญจาบ ลงมาทางตะวันออกจนถึงเมืองพาราณสี รวมมีขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของจักรวรรดิของพระเจ้าอโศกมหาราช ตอนแรกราชวงศ์กุษาณตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองกาบุล แล้วย้ายมายังปุรุษปุระ หรือ Peshawar และท้ายสุดย้ายมายังมถุรา ในยุคเดียวกันนี้มหาอาณาจักรที่รุ่งเรืองในอินเดียภาคกลางก็คือ อานธระของราชวงศ์ศาตวาหนะ ซึ่งทํานุบํารุงพระพุทธศาสนามากเหมือนกัน)๐

พ.ศ. ๖๒๑

พระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์กุษาณ ขึ้นครองราชย์ ณ เมืองปุรุษปุระ เป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในชมพูทวีปภายหลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงมีพระราชศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ทรงอุปถัมภ์การ สังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ร้อยกรองพระไตรปิฎกฉบับภาษาสันสกฤต มหายานแยกตัวออกไปอย่างชัดเจนและเจริญรุ่งเรืองแพร่หลาย มีพระสงฆ์และชาวพุทธสําคัญเป็นปราชญ์ เป็นที่ปรึกษา เป็นกวีในราชสํานัก ทรงส่งสมณทูตไปประกาศพระศาสนาในอาเซียกลาง ซึ่งทําให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยัง จีน เกาหลี มองโกเลีย และญี่ปุ่น ในสมัยต่อมาทรงสร้างสถูปและวัดวาอารามเป็นอันมาก และ เป็นสมัยที่ศิลปะแบบคันธาระเจริญถึงขีดสุด

อาณาจักรกุษาณรุ่งเรืองและเป็นสะพานเชื่อมระหว่างอารยธรรมอินเดีย จีน กับ โรมัน หรือตะวันออกกับตะวันตกอยู่ประมาณ ๒๐๐ ปีเศษ ในตอนปลายยุคได้ค่อยสูญเสียดินแดนให้แก่เผ่าชนฝ่ายพราหมณ์ตามลําดับ จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๙ ก็สูญสิ้นวงศ์ และมีอาณาจักรคุปตะของวงศ์กษัตริย์ฝ่ายพราหมณ์รุ่งเรืองขึ้นแทน

พ.ศ ๑๑๓๖ ยุดเริ่มการเปลี่ยนแปลงตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง

จากพ.ศ ๑๒๐๐-๒๐๐๐ พุทธศาสนาไม่ได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นปกครอง

จากพ.ศ ๒๐๐๑ ก็เริมจางหายไปเป็นที่สุด เป็นเวลา ๙๐๐ กว่าปี

พ.ศ ๒๕๔๒ ปีหามงคล  ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ ๕๔ ได้พิจารณาระเบียบวาระที่ ๑๗๔ International Recognition of the Day of Vesak 

ในปีเดียวกัน แห่งกาลนั้น UNESCO ร่วมกับสาธารณรัฐอุซเบกีสถานแและรัฐบาล ญี่ปุ่น ได้บูรณปฏิสังขรณ์มรดกพระพุทธศาสนา  วัดฟายาซ  จังหวัดสุคันดาร์ณย่า ชาายแดนติดต่อ ประเทศ อัฟกานิสถาน ทาจีกีสถาน และเติกร์เมนิสถาน ณ แผ่นดินแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการปกครอง การค้า ศาสนาวัฒนธรรม บนเส้นทางสายไหม กว่า ๒๐๐๐ ปี

 

 

Visitors: 5,789