ความเป็นมา...พระเจ้าอโศกองค์ที่ ๒( กนิษกะ)

                                                     

"กษัตริย์แห่งกษัตริย์ พระเจ้ากนิษกะจักรพรรดิของจักรวรรดิ-กุษาณะ ผู้สร้างแม่แบบพุทธลักษณะรูปลักษณ์เป็นต้นแบบ เอกลักษณ์สัญญลักษณ์  "พระพุทธรัตนตรัย" ของชาติเฮเลน ด้วยศิลปะกรีกยุคคลาสสิคผสมยุคเฮเลนนิสติค เป็นศาสนูปถัมภ์สังฆายนาครั้งที่ ๔    (พระเจ้าอโศกองค์ที่ ๒)

 

#..พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ  ครองราชปี พ.ศ. ๖๒๑ พระองค์ มีความเลือมใสในพระพุทธศาสนา จนได้ รับพระนามว่า  " พระเจ้าอโศกองค์ที่ ๒" และทรงแผ่อาณาจักรครอบคลุม คันธาระ แคซเมียร์ สินธุ และมัธยมประเทศและเหนือแม่น้ำสินธุ แม่น้ำ คาบูน Kabun เทือกเขา ฮินดูกูสฯ ปัจจุบันคือสาธารณรัฐ อุซเบกีสถาน ตอนใต้ จังหวักสุคันดาร์ย่า ชายเขตติดต่อ อัฟกานิสถานภาคเหนือสุด

 #..ในด้านการแกะสลักพุทธศิลป์คันธาระ ซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ตระช่างคันธาระ มีความเจริญอย่างอย่างต่อเนื้องในสมัยกนิษกะองค์ที่ 3

ได้สร้างต้นแบบ ไตร รัตน์ แกะสลักด้วยหิน-ที่ภาคเหนือสุดริ่มฝั่งปากอ่าวแม่น้ำ อมูดาร์ย่า (Amudarya)ที่เป็นศูนย์กลางคมมนาคมบนเส้นทางสายใหม  สร้างวัดฟายาฌ (Fayaztepa)วัด คาราเทป้า (Rakatepa) และสถูป Zurmala Stupa บ่งบอกความเจริญสูงสุดในอาณาจักรของพระองค์

#..พระองค์ทรงสร้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหารมากมาย เป็นที่ใหญ่สุดในสมัยของพระองค์ฯ พระถังซัมจั๋ง พระสงฆ์ชาวจีนผู้จาริกสู่อินเดียเมื่อราว

พ.ศ. 1100 เมื่อจาริกถึงเมืองปุรุษปุระ  เมืองหลวงของพระองค์จึงกล่าวว่าพระเจ้ากนิษกะ ทรงสร้างสัญลักษณ์ความเคารพทางพระพุทธศาสนาใว้เป็นเอกลักษณ์ เช่น วิหาร-พระพุทธรูปทรงยืนสูง80เมตร พระนอนยาว 120เมตร สถูปกนิษกะ-ใหญ่ที่สุดสูงที่สุดเป็นสถูปพุทธโบราณในเมืองเปศวาร์ เป็นสิ่งมหัสจรรย์ลำดับ 8ของโลกด้วยงานโครงสร้างโดดเด่นเกิดจากน้ำมือและความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ชาติสร้างขึ้นราว-ศต. 1.อาณาจักรกุษาณะของพระองค์ คาดว่ามีความสุงเท่ากับตึก13ชั้นปัจจุบัน  

ทรงให้นามว่า "กนิษกะมหาวิหาร" แม้ว่าพระวิหารจะทรุดโทรมลงแล้ว แต่ พระวิหารมีศิลปะที่งดงามยากที่จะหาที่ใดเหมือน และยังมีพระภิกษุอาศัยอยู่บ้าง

พระเจ้ากนิษกะ  ครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 621 - พ.ศ. 644 รวมระยะเวลา 23 ปี

#..ภาพบนเหรียญทอง.. อีกด้านเป็นภาพพระพุทธเจ้า 

    ด้านก้อย: พระพุทธเจ้าประทับยืนในสไตล์กรีก พระหัตถ์ขวาแสดงปางอภัยมุทรา (abhaya mudra) "ให้ความไม่กลัว" พระหัตถ์ซ้ายจับกลีบผ้าจีวรของพระองค์ ตำนานในจารึกกรีก: ΒΟΔΔΟ "Boddo" พระปรมาภิไธยย่อของพระเจ้ากนิษกะอยู่ที่ด้านขวา (tamgha)

ชื่อเสียงของพระองค์ในหมู่ชาวพุทธได้รับการยกย่องว่าเป็นบุคคลที่สำคัญอย่างยิ่งในฐานะที่พระองค์ไม่เพียงแต่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่พระองค์ยังสนับสนุนการเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วย ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้คือ พระองค์เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์บำรุงดูแลการสังคายนาของชาวพุทธครั้งที่ 4 ในฐานะเป็นประธานฝ่ายฆราวาสแห่งการสังคายนา ประธานฝ่ายสงฆ์คือพระวสุมิตร Vasumitra และพระอัศวโฆษ Ashwaghosha ในระหว่างการสังคายนานี้ศาสนาพุทธได้ถูกแยกออกเป็นนิกายมหายานและนิกายหินยาน พระพุทธรูปตามตำราลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ ก็ได้ถูกสร้างขึ้นในยุคของพระองค์

   พระองค์ทรงให้การสนับสนุนอย่างมากมายในการสร้างสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ กนิษกสถูปที่เมืองเปศวาร์ ประเทศปากีสถาน นักโบราณคดีผู้ที่ค้นพบฐานของสถูปในปี พ.ศ. 2451-2452 เมื่อตรวจสอบดูพบว่าสถูปนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 286 ฟุต (87 เมตร) ตามรายงานของนักบวชแสวงบุญชาวจีน ชื่อ พระถังซัมจั๋ง Xuanzang ระบุไว้ว่าความสูงของสถูป 600-700 ฟุตจีน (ประมาณ 180 - 250 เมตรหรือ 591 - 689 ฟุต) และถูกประดับประดาด้วยอัญมณี แน่นอนว่าอาคารที่มีหลายชั้นอันใหญ่โตนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ของโล

 

ประวัตพระเจ้า กนากะ โดยสังเขป
# พระเจ้ากนิษกะ หรือ พระเจ้ากนิษกะมหาราช (อังกฤษ: Kanishka, กุษาณะ: Κανηϸκι) เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จด้านการทหาร การปกครอง และฐานะผู้นำที่ยิ่งใหญ่
#.นอกจากนี้ยังทรงเป็นผู้กำหนดมหาศักราชขึ้นด้วย ที่สำคัญคือ ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายหินยาน ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปศวรในประเทศปากีสถานปัจจุบัน

 

#..พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 621 พระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนามากจนได้รับขนานนามว่า "พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2" และทรงแผ่อาณาจักรกว้างไกลครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ และมัธยประเทศ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอิหร่าน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน และบางส่วนของอินเดีย) ในสมัยนี้พุทธศาสนามหายานแผ่ไปสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็ว วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี พระภิกษุที่มีความรู้ในยุคนี้คือ ท่านปารศวะ ท่านอัศวโฆษ ท่านวสุมิตร เป็นต้น

 

#...ในด้านการแกะสลักพุทธศิลป์คันธาระ ซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ก็มีความเจริญอย่างขีดสุดในสมัยพระองค์ พระองค์ทรงสร้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหารอย่างมากมาย พระเหี้ยนจึงพระสงฆ์ชาวจีนผู้จาริกสู่อินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1100 เมื่อจาริกถึงเมืองปุรุษปุระ เมืองหลวงของพระองค์จึงกล่าวว่าพระเจ้ากนิษกะ ทรงสร้างวิหารหลังหนึ่ง ทรงให้นามว่า "กนิษกะมหาวิหาร" แม้ว่าพระวิหารจะทรุดโทรมลงแล้ว แต่พระวิหารมีศิลปะที่งดงามยากที่จะหาที่ใดเหมือน และยังมีพระภิกษุอาศัยอยู่บ้าง ทั้งหมดเป็นพระนิกายหินยานหรือเถรวาท พระเจ้ากนิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 621 - พ.ศ. 644 รวมระยะเวลา 23 ปี

 

#...พระองค์เป็นผู้มีชื่อเสียงในด้านกองทัพความสำเร็จทางด้านการเมืองและจิตวิญญาณ บรรพบุรุษที่เป็นผู้ก่อตั้งจักรพรรดิกุษาณะคือ คุชุลา กัทพิเสส (Kujula Kadphises) พระเจ้ากนิษกะได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิบักเตรียขยายออกตั้งแต่ เทอร์ฟัน (Turfan) ในแอ่งทาริม Tarim Basin ไปถึงเมืองปาฏลีบุตรบนที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา เมืองหลวงหลักของจักรวรรดิของพระองค์คือเมืองในบุรุษปุระ (Puruṣapura) ในแคว้นคันธาระ และมีเมืองใหญ่เมืองอื่นอีกคือเมืองกาปิสะ(Kapisa) การพิชิตและการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาของพระองค์แสดงบทบาทอย่างสำคัญในการพัฒนาเส้นทางสายไหมและการเผยแผ่พระพุทธศาสนามหายานจากแคว้นคันธาระผ่านหุบเขาคาราโครัมไปถึงประเทศจีน นักวิชาการก่อนหน้านี้เชื่อว่าพระเจ้ากนิษกะเสด็จขึ้นสู่บัลลังก์ในปี พ.ศ. 621 และวันที่นี้ในปีนั้นก็ถูกใช้เป็นปีเริ่มต้นแห่งปฏิทินศักราช อย่างไรก็ตามวันที่นี้ในตอนนี้ไม่ได้รับการถือว่าเป็นวันที่ทางประวัติศาสตร์ของการเสด็จขึ้นครองราชย์ของพระเจ้ากนิษกะ ไม่นานมานี้ปี พ.ศ 2544 นักวิชาการชื่อว่า Falk ได้กะประมาณการว่า พระเจ้ากนิษกะเสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 666

 

กรุณาใส่ข้อความ …

Visitors: 5,789