พระเจ้ากนิษกะ คือพระเจ้าอโศกองค์ที่ ๒ .Kanishka the Great an emperor of the Kushan Dynasty in the second century 123-150CE is famous for his military, political, and spiritual achievement, His conquests and patronage of Buddhism played an important role
พระเจ้ากนิษกะ
พระมหากษัตริย์แห่งชาติกุษาณะ Kushan จากแคว้นคันธารราษฎร รวม สามหัวเมืองใหญ่ ปันจาบ-คันธาราษฎร-แบคเทรียเป็นหนึ่ง คือกุษาณะ KUSHAN
เมื่อประมาณ พ.ศ.600 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่มีอานุภาพมากทรงปราบปรามได้แคว้นกัษมีระและแคว้นต่าง ๆ ซึ่งอยู่ถัดจากอินเดียขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและครอบครองดินแดนส่วนใหญ่ในลุ่มน้ำสินธุ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า แคว้นปัญจาบ เคยเสด็จมาตีอินเดียถึงแคว้นมคธ
พระเจ้ากนิษกะทรงเลื่อมใสพระพุทธศาสนา เพราะด้วยได้อัศวโฆษผู้เป็นคณาจารย์ฝ่ายพระพุทธศาสนาไปเป็นราชครูของพระองค์
พระองค์ทรงดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแบบพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้จัดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย ณ ชาลันธรนคร ในแคว้นกัษมีระ ตามตำนานฝ่ายมหายานกล่าวว่าเป็นการสังคายนาครั้งที่สามนับแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพทาน
* พระเจ้ากนิษกะ หรือ (พระเจ้าอโศกองค์ที่ ๒) ผุ้ครองราชด้วยทศพิธราชธรรม ผู้อุปถัมภ์สังคายนาครั้งที่ ๔.เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา-
*ผู้ซึ่งก่อให้เกิด พระพุทธพุทธรูปเปรียบต่างแทน "พระรัตนตรัย"แกะสลักหินเศวตศิลาเป็นสื่อหมายถึงสามรัตน-
๑.พระพุทธเจ้า: โคตมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง( ปางปฐมตรัสรู้ด้วยอิริยสบถสงบสง่าเป็นธรรมชาติภายใต้ซุ้มโค้งมีโพธิกิ่ง-ก้าน-ใบแผ่ประกายเป็นรัสมีด้วยโพธิปักขิยธรรม ๒๒ ( สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท๔ สัมมัปปธาน๔ พละ๕ อินทรีย์๕) พระวรกายทรงจิบ๘ ด้วยผ้าสื่อบอกสัญลักษณ์แห่งมรรคมีองค์๘ ด้วยพระเพลา สัญลักษณ์จิบ แห่งโภชฌงค์ ๗. แห่งการตรัสรู้
๒.พระธรรม: สื่อถึงต้นพระศรีมหาโพธิ์ หมายถึง"มุขปาฐะ"แห่งธรรมเป็น โพธิปักขิยธรรม นำมาประพฤติปฏิบัติให้เห็นเป็นจริงเป็นสัจจะธรรมที่ปฏิเพื่อรู้แจ้ง
๓.พระสงฆ์: สื่อถึงสาวกผู้ประพฤติปฏิบัติชอบหมายถึง พุทธศาสนิกทุกหมู่เหล่า เมื่อนำพระธรรมคำสอนมายึดถือเป็นแนวทางดำรงตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเป็นธรรมชาติของตนให้เกิดมรรคผลเป็นธรรมะ
เป็นปูชนียประติมา-สร้างสถูปขนาดใหญ่ชาญเมืองหลวง Purshapura และวิหารผู้ก่อตั้งมหาศักราช-เผยแผ่พุทธศาสนาสู่จีน-เกาหลี-ญี่ปุ่น-
* เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งอาณาจักรกุษาณะในเอเชียใต้ ราว ค.ศ.ที่ 2
* ทรงมีชื่อเสียงจากความสำเร็จในความคิดเห็นต่าง ความเชื่อและศรัทธา นำมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับแห่งกาลเวลา ทั้งด้านการทหาร การปกครอง การค้าและฐานะผู้นำที่หลอมรวมอิทธิพลตะวันออกและตะวันตก คือสำนักศิลปคันธาระซึ่งเส้นสายกรีกโรมันแสดงออกเป็นคลาสสิกปรากฏอยู่ในพระพุทธรูป และ ที่สำคัญคือ ทรงเป็นเอกองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธมหายาน
#.พระเจ้ากนิษกะเป็นนัดดาของพระเจ้ากัทพิเสส ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรกุษาณะ ได้ครองราชย์ในปี พ.ศ. 621.. พระองค์ได้รับการศึกษาปรัชญาพระพุทธศาสนาจาก พระอัศวโฆษ เป็นพระภิกษุนิกายสรวาสติวาท ปราชย์จากอินเดีย เป็นนักเขียนละครภาษาสันสกฤตคนแรก-นักกวี-นักโต้วาที. พระเจ้ากนิษกะ พระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอุปถัมภ์อุปัฏถาก-ทำสังคายนาครั้งที่ ๔ ปกครองพุทธอาณาจักรทั้งเอเขียกลางและเอเชียใต้ จนได้รับขนานนามว่า "พระเจ้าอโศกองค์ที่ 2"
#.ทรงทำสังคายนาครั้งที่ ๔.ของพุทธมหายาน (อาจาริยวาท) ราวพ.ศ.๖๔๓ ค.ศ ๑๐๐ ใช้ภาษาสันสกฤต จารึกพระไตรปิฏก บนแผ่นทองเหลืองเก็บรักษาไว้ในหีบทำด้วยศิลา ประดิษฐานในพระเจดีย์ เพื่อความมั่นคงแห่งพุทธศาสนา-ทรงเผยแผ่อาณาจักรกว้างไกลครอบคลุม คันธาระ แคชเมียร์ สินธุ และมัธยประเทศ พระพุทธศาสนามหายานแผ่เข้าสู่เอเชียกลางและจีนอย่างรวดเร็ว วรรณคดีภาษาสันสกฤตได้เจริญรุ่งเรืองแทนภาษาบาลี พระภิกษุที่มีความรู้ความสามารถในยุคนี้คือ -พระะอัศวโฆษ --พระนาคารชุนะ พระสุวพันธุ-พระปารศวะเป็นต้นฯ
#.ในด้านการแกะสลักพุทธศิลป์คันธาระ ซึ่งเริ่มต้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ ก็มีความเจริญอย่างขีดสุดในสมัยพระองค์ พระองค์ทรงสร้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหารอย่างมากมาย พระเหี้ยนจึงพระสงฆ์ชาวจีนผู้จาริกสู่อินเดียเมื่อราว พ.ศ. 1100 เมื่อจาริกถึงเมืองปุรุษปุระ เมืองหลวงของพระองค์จึงกล่าวว่าพระเจ้ากนิษกะ ทรงสร้างวิหารหลังหนึ่ง ทรงให้นามว่า "กนิษกะมหาวิหาร" แม้ว่าพระวิหารจะทรุดโทรมลงแล้ว แต่พระวิหารมีศิลปะที่งดงามยากที่จะหาที่ใดเหมือน และยังมีพระภิกษุอาศัยอยู่บ้าง ทั้งหมดเป็นพระนิกายหินยานหรือเถรวาท พระเจ้ากนิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 621 - พ.ศ. 644 รวมระยะเวลา 23 ปี
*พระพุทธรัตนตรัย*
หนึ่งเดียวที่ขุดค้นพบ หลังจากหลับไหลใต้ปฐพี มา มาก ๙๐๐ ปี ก็ปรากฏสู่สายตาชาวโลก ปี ค.ศ. ๒๐๐๐ ที่ประเทศ สาธารณรัฐ อุซเบกีสถาน ทางตอนใต้ เขตชายแดนติดต่อ อัฟกานิสถาน- ทาจิกืสถาน
พระพุทธ รัตนตรัย..สร้างขึ้นในปี พุทธศักราช 500 โดยพระอัศวโฆษเถระ พระปารศวะ พระวสุมิตร ประดิษฐานไว้ วัดฟายาซ กรุงแบคเทรีย ในแผ่นดินพระเจ้ากนิษกะฯ หินเศวตศิลาแกะสลัก โดยช่างศิลป์ผสมผสานกริกกับคันธาราช -Hellenist & Buddhist Art- หน้าตัก กวา้ง ๘๐ เซ็นติเมตร สูง ๑๐๐ เซ็นติเมตร เป็นสัญลักษณ์รัตนตรัย ๓ประการอันมีพระโคตมพระพุทธเจ้า ประทับนั่งท่าสมาธิเป็นประธาน ภายใต้โพธิปักขิยรัศมีรอบพระเศียรหมายถึงพระธรรม และรูปต่างแทนเหมือนสาวกคือพระสงฆ์ จำหลักเป็นพระพุทธรัตนตรัย เป็นเครืองหมายแห่งศรัทธา ให้เป็นสิ่งเคารพและบูชาสูงสุดของพระพุทธศาสนา